วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560

จากสถาปนิกเลือดใต้ สู่ศิลปินระดับโลก!

หรอยแรง! พี่บ่าว “บัญชา มะ” : จากสถาปนิกเลือดใต้ สู่ศิลปินระดับโลก!


“บัญชา มะ” ศิลปินถิ่นใต้ผู้มากความสามารถ กวาดมาแล้วหลายรางวัล ทั้งรางวัลประกวดแบบสถาปัตยกรรม นักเขียนรางวัลบล็อกเกอร์อวอร์ด และนักวาดภาพสีน้ำที่ได้รับเชิญให้ไปแสดงผลงานในต่างประเทศ

จากคนทำงานด้านสถาปนิกและมีใจรักด้านการวาดภาพสีน้ำมาแต่เยาว์วัย และด้วยหัวใจที่ไม่เคยลืมถิ่นกำเนิด เมื่อคืนสู่แผ่นดินเกิด จึงถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตผู้คนในถิ่นใต้ ภาพวาดสีน้ำที่งดงามตรึงใจ ซึ่งพูดแบบคนปักษ์ใต้ ก็คงใช้คำทำนองว่า “หรอยแรง! พี่บ่าว”



• ทราบมาว่าคุณบัญชาไม่ได้เป็นคนจังหวัดกระบี่ตั้งแต่เกิด แล้วพื้นเพเดิมเป็นคนจังหวัดอะไรคะ ทำไมถึงไปอยู่ที่กระบี่

พื้นเพเดิมเป็นคนนราธิวาสครับ เกิดและเติบโต ใช้ชีวิตวัยเด็กที่นั่น จนย่างเข้าสู่วัยรุ่น มีความจำเป็นต้องย้ายไปศึกษาต่อในระดับอาชีวะที่สูงขึ้นในจังหวัดยะลาและสงขลา ด้วยความที่เป็นลูกน้ำเค็ม เติบโตมากับทะเล ได้เห็นวิถีชีวิตในท้องถิ่น และรู้สึกผูกพันกับทะเลมาตั้งแต่เด็กๆ ด้วยเหตุนี้จึงชอบวาดภาพเกี่ยวกับทะเลด้วยครับ

หลังจากที่จบการศึกษาปริญญาตรีด้านเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม ที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตธัญบุรี (ชื่อในสมัยนั้น แต่ศึกษาที่วิทยาเขตอุเทนถวาย) ได้ทำงานด้านออกแบบอาคารที่บริษัทรับเหมาอันดับต้นๆ ของประเทศแห่งหนึ่งแถวถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ทำอยู่ประมาณ 10 กว่าปี บริษัทนี้ได้ให้ประสบการณ์การทำงานมากมายจนถึงจุดอิ่มตัว กำลังต้องการสิ่งท้าทายใหม่ๆ และเป็นช่วงเดียวกันที่ลงมาเที่ยว จ.กระบี่ แล้วรู้สึกประทับใจมาก เลยตัดสินใจลาออกจากบริษัท ย้ายมาเปิดสำนักงานออกแบบเล็กๆ ของตัวเองด้านออกแบบโรงแรม รีสอร์ต บ้านพักตากอากาศที่อ่าวนาง จ.กระบี่ ระหว่างนั้นก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เหมือนกับคนที่หลุดออกจากกรอบแคบๆ ความแออัดและวุ่นวายของเมืองหลวง พอได้มาอยู่กับธรรมชาติ ความคิดดีๆ ก็เริ่มเกิดขึ้น

• คุณบัญชาเรียนการวาดสีน้ำด้วยตนเองด้วยใช่ไหมคะ และอะไรเป็นแรงบันดาลใจในการวาดรูปคะ

ครับ, ผมเรียนวาดภาพสีน้ำด้วยตัวเอง เพราะมีใจรักในการวาดภาพมาตั้งแต่เด็ก การเดินทาง ความสวยงามของธรรมชาติรอบตัว วิถีชีวิตของผู้คน วัฒนธรรมที่แตกต่าง สถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่แปลกตา คือแรงบันดาลใจสำคัญที่กระตุ้นให้อยากกลับมาจับพู่กันเขียนสีน้ำอย่างจริงจังอีกครั้ง หลังจากที่ว่างเว้นมานานกว่า 10 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้เขียนอย่างจริงจังมากมายอะไรนัก ฝึกเขียนสีน้ำอยู่ 2 ปี จากที่เคยชื่นชมภาพอยู่คนเดียวเมื่อวาดเสร็จ ก็เริ่มอยากเผยแพร่ออกสู่สาธารณะบ้าง จุดเปลี่ยนสำคัญจึงเกิดขึ้นหลังจากที่ได้วาดภาพประกอบเพื่อเขียนในบล็อกส่วนตัวที่ชื่อว่า “บันทึกสีน้ำการเดินทางของความคิด” ที่โอเคเนชั่นบล็อก ซึ่งเป็นบล็อกที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับบันทึกในการเดินทาง มุมมองด้านศิลปะ วัฒนธรรม วิถีของผู้คน บทกวี และการเมือง ผ่านภาพสีน้ำ เป็นช่วงหนึ่งที่ต้องฝึกฝนการเขียนสีน้ำอย่างต่อเนื่องตลอด 4 ปีของการเขียนบล็อก เขียนอยู่ 4 ปี ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดบล็อก THAILAND BLOG AWARDS 2013 สาขาศิลปะและวัฒนธรรม











นอกจากวาดภาพแนววิถีชีวิตทางใต้และทะเลแล้ว คุณบัญชายังชอบวาดรูปอะไรอีกไหมคะ

แนวที่ถนัดและชอบมากเป็นพิเศษในการเขียนภาพสีน้ำคือแนววิถีชีวิตและผู้คนตามรายทาง (Street Life) แนวธรรมชาติที่ถนัดก็เป็นแนวทะเล (Seascape) โดยเฉพาะทะเลอันดามันและวิถีชาวประมงพื้นถิ่น อีกแนวคือแนวลายเส้นกึ่งสถาปัตยกรรมที่บันทึกระหว่างการเดินทาง (Travel Sketch) lj;oแนวสุดท้าย...อาจเป็นเพราะผมเป็นสถาปนิกด้วย เลยมีพื้นฐานด้านลายเส้นและเพอร์สเปกทีฟ แนวนี้จึงเป็นแนวที่ถนัดและสามารถวาดได้ในเวลาจำกัด

• ผลงานภาพวาดสีน้ำของคุณบัญชาแต่ละชิ้น มีเสน่ห์ดึงดูดใจถ่ายทอดถึงวิถีชีวิตทางภาคใต้ของไทยเราได้อย่างดงามและน่าสนใจ มีเคล็ดลับหรือเทคนิคในการวาดอย่างไรบ้างคะ

เคล็ดลับคือ ก่อนวาด ต้องศึกษาและเก็บข้อมูลให้ละเอียดและวางโครงเรื่องให้ชัดเจนว่าต้องการถ่ายทอดสิ่งใด ส่วนเทคนิคนั้นต้องใจเย็นๆ มีสมาธิมากๆ เพราะแนวที่วาดนั้นเป็นแนวสีน้ำกึ่งเรียลิสติก ซึ่งพลาดแล้วจะแก้ไขยากและอาจจะใช้เวลานานกว่าเขียนสีน้ำปกติ






• ทราบมาว่าประมาณเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ คุณบัญชาได้รับการคัดเลือกไปร่วมแสดงนิทรรศการสีน้ำระดับโลกด้วย อยากทราบว่ามีที่มายังไงคะ ทำไมมาถึงจุดจุดนี้ได้คะ

ผมเองเป็นสมาชิกของ IWS THAILAND ซึ่งเป็นเครือข่ายหนึ่งของสมาคมสีน้ำนานาชาติ IWS (International Watercolor Society) เชื่อมโยงศิลปินและผลงานสีน้ำจากทั่วโลก ในแต่ละปีจะมีการจัดนิทรรศการสีน้ำระดับนานาชาติหมุนเวียนตามประเทศสมาชิก และศิลปินจากทั่วโลกจะส่งผลงานเพื่อคัดเลือกเข้าร่วมแสดงหรือประกวดรับรางวัลในปีที่แล้ว (2015) ผลงานของผมชื่อ Morning Life @ Amphawa เป็นภาพสีน้ำวิถีชีวิตตลาดริมน้ำที่คลองอัมพวา ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมแสดงในนิทรรศการสีน้ำนานาชาติที่ประเทศแอลเบเนีย International Watercolor Festival ,Tirana, Albania โดย IWS Albania

ส่วนเดือนกรกฎาปีนี้ ผลงานภาพสีน้ำของผมชื่อว่า Smiling through the window ได้รับการคัดเลือกโดย IWS CANADA คัดผลงานจาก 57 ประเทศทั่วโลกให้เป็น 1 ใน 175 ภาพที่จัดแสดงในนิทรรศการสีน้ำระดับนานาชาติ first international watercolor biennale. Vancouver,BC, Canada งานนี้มีศิลปินสีน้ำจากประเทศไทยที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 4 ท่านครับ

การได้ร่วมแสดงผลงานกับศิลปินอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ต้องมีการพัฒนาฝีมือตัวเองอยู่ตลอดเวลา ยิ่งได้เห็นผลงานของศิลปินหลายๆ ท่านระดับโลกแล้ว ทำให้เรารู้ว่าเรายังขาดหรือต้องการเติมเต็มในเรื่องใดบ้างเพื่อให้งานเราสมบูรณ์มากขึ้น ยิ่งในช่วงปีที่ผ่านมานี้วงการสีน้ำโลกมีการตื่นตัวค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งมาจากโซเชียลมีเดียที่ติดต่อกันสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้มีการรวมตัวเป็นเครือข่ายสีน้ำระดับนานาชาติ ในนามของ IWS (International Watercolor Society) มีสมาชิกจากหลายประเทศทั่วโลก ในแต่ละปีจะมีการจัดแสดงหรือประกวดตามประเทศต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ








“บัญชา มะ” เป็นศิลปินผู้มากความสามารถและถือเป็นศิลปินชั้นแนวหน้าในวงการสีน้ำเมืองไทยที่ผลงานของเขาดังไกลไปถึงต่างแดน ผลงานของเขาถือเป็นการเผยแพร่วิถีชีวิตคนไทยในอีกแง่มุมหนึ่งที่งดงามสู่สายตาชาวโลกอีกด้วย นอกจากฝีมือการวาดภาพที่ถ่ายทอดผลงานออกมาอย่างละเมียดละไมในแนวสีน้ำกึ่งเรียลิสติกแล้ว เขายังสามารถถ่ายทอดจิตวิญญาณของคนพื้นถิ่นดินแดนด้ามขวานทองของไทยให้สำนึกรักบ้านเกิดได้อย่างน่าประทับใจอีกด้วย คุณบัญชามักจะมีผลงานออกมาให้ชมอยู่เสมอ สามารถติดตามผลงานของเขาได้ในเฟซบุ๊ก Bancha ma และเฟซบุ๊กแฟนเพจ Bancha ma (Watercolorist)  อ่านต่อ







แหล่งที่มา
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9590000039834



วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้

  • ด้ง


ด้ง คือ กระด้ง มีหลายชนิด ที่สำคัญมี ๒ อย่าง คือ กระด้งฝัดข้าวกับกระด้งมอน กระด้งฝัดข้าวสานด้วยไม้ไผ่รูปร่างกลมหรือกลมรีหัวเลี่ยม กระด้งนอกจากใช้ฝัดข้าว ร่อนข้าวแล้ว ยังใช้ตากอาหาร ตากปลา กุ้ง ตากสิ่งของต่างๆได้สารพัด แม้กระทั่งใช้เป็นที่นอนของเด็กอ่อนแรกเกิด ที่เรียกกระด้งมอนสานขึ้นจากไม้ไผ่เหมือนกัน ภาษาพื้นเมือง “มอน” แปลว่า กลม แปลว่า เฝ้าวนเวียนที่จะมาทำมิดีมิร้าย แล้วในที่นี้มีความหมายว่า กระด้งทรงกลม ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากระด้งฝัดข้าวมาก ใช้ฝัดข้าวไม่ได้จึงนิยมใช้งานอื่น เช่น ตากข้าว ตากอาหาร ตากยาสูบ พริก ฯลฯ และตากสิ่งของอื่นๆ โดยเฉพาะดังมีคำพังเพยว่า “สานด้งใส่ข้าวเจาะน้ำเต้าใส่น้ำ” เป็นต้น

  • เกี่ยว




เกี่ยว หรือ “เคียว” ก็เรียกเป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าวมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับ “กรูด” แต่มีหางยาวกว่า ใบมีดก็มีลักษณะต่างกันเล็กน้อย เวลาเก็บเกี่ยวมือแทนที่จะจับตรงกลางเหมือนกรูด กลับจับส่วนปลายของด้ามสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้รวดเร็วทีละหลายๆ กอ นิยมใช้กันทาง ต.ท่างิ้ว อ.เมือง ต.อินคีรี ต.บ้านเกาะ อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช

  • เครื่องใช้ในครัว



       เครื่องใช้ในครัว นอกจากมีหม้อ มีกระทะ หลายชนิดและหลายรูปทรง เช่น เผล้ง (ใช้ใส่ข้าวสาร ใส่น้ำกิน) และเป็นเครื่องปั้นดินเผาตามแบบโบราณแล้วชาวปักษ์ใต้ยังมี “สวด” ลักษณะใกล้เคียงกับ “หวด” ในภาคกลาง คือ ลักษณะคล้ายเป็นหม้อ ๒ ใบ แฝดติดต่อกัน ตรงกลางจึงคอดกิ่ว ส่วนบนเรียก “ตัวผู้” ส่วนลูกล่างเรียก “ตัวเมีย” ตรงคอดกิ่วนั้นเองมีตะแกรงหรือ“เพดาน” เจาะรูเล็กๆ หลายรูสำหรับให้ไอน้ำจากด่านล่างระเหยขึ้นมาได้ เพราะเป็นหม้อสำหรับนึ่งข้าวเหนียวและอื่นๆ
       จำพวก “หวัก” (จวัก) ใช้ตักแกง แล่ง (ใช้ตวงข้าวสาร) ป้อย (ใช้ตวงข้าวสารใส่หม้อหุงข้าว) โหลก (กะโหลก) ใช้ใส่ของขนาดเล็กๆ จิปาถะ พรกเคย (ใช้ละลายกะปิ) พรกลอด (ทำขนมลอดช่อง) พรกลา (ทำขนมลา) ฯลฯ อุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้มักทำด้วยกะลามะพร้าว (พรก) เนื่องจากภาคใต้มีสวนมะพร้าวทั่วไปหาได้ง่ายไม่มีวันจบสิ้น และถือเป็นวัสดุประเภท “สารพัดประโยชน์” เลือกลูกแก่ๆ ขัดให้เป็นมันดำ มีการตกแต่งยิ่งเป็นลวดลายสวยงามน่าใช้และมีคุณภาพคงทนดี

  • เครื่องมือจับปลา


       เครื่องมือจับปลา มีมากหมายหลายอย่างทำด้วยไม้ไผ่เป็นหลัก เช่นสุ่ม (จับปลา) นาง (ชนาง ก็เรียกใช้ช้อนดักจับกุ้งปูปลาขนาดเล็ก) เชงเลง (ปากกว้างหางเรียวใช้ดักปลา) เจ้ย (ตะแกรง ใช้ตากกุ้งปลา ตากพริก ร่อนข้าวสาร) นั่งได้นอนได้ (หรือหญดก็เรียก คือ อีจู้ทั้งแบบตั้งและแบบนอนใช้ดักปลา) โลด – เล่ (เครื่องดักปลาแบบให้ปลากระโดดขึ้นมาค้างบนรางร้าน) ส้อน (รูปร่างเล็กยาวคล้ายกระบอกกรวยใช้ดักกุ้งปลาขนาดเล็ก) ไซ (มีหลายแบบเช่น ไซลาว มีรูปร่างเล็กยาวใช้ดักกุ้ง ไซดักปลา ไซหัวหมู) รูปร่างของไซแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่ส่วนที่เหมือนกันคือมี “งา” อยู่ข้างในดังคำปริศนาคำทำนายที่ว่า “ช้างตายในนางอกงาในพุง” ตะข้องหรือ “ข้อง” สำหรับขังปู ปลา กุ้ง หอย มีหลายชนิดและลางชนิดก็เรียกชื่อกับการใช้งานต่างออกไป เช่น จง หรือข้องจงมีขนาดเล็กทรงชะลูดปากเรียว (ใช้ใส่กุ้ง ปู ปลา) ข้อง (ทั่วไปใช้ใส่หอย ปู ปลา) ข้องไหล (ใช้ดักปลาไหล) ไซขังปลา (ไซทนก็เรียก) ข้องบา (คือตะข้องแบบมีบ่า ๒ ข้าง มักมีขนาดใหญ่ ใช้ใส่ปลา) ข้องนั่งได้ คืออีจู้นั่นเอง

  • ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว

ประวัติความเป็นมา
ก่อนปี พ.ศ. 2525 นายปลื้ม ชูคง ได้เริ่มงานหัตกรรม โดยได้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ภายในครัวเรือน เครื่องมือเพื่อการเกษตร โดยนำไปขายตามหมู่บ้านและงานวัดทั่วไปพ.ศ.2525ได้เริ่มจัดทำผลิตภัณฑ์ กะลามะพร้าว โดยทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนไม่กี่ประเภท เช่น ทัพพี ตะหลิว ตะบวย จวัก พ.ศ.2526 หน่วยงานทางราชกาลหลายหน่วย ได้เข้ามาแนะนำส่งเสริมอุตสาหกรรม ในครัวเรือนนายปลื้ม ได้เป็นวิทยากรแนะนำให้ความรู้และชักจูงให้ประชาชนในหมู่เข้ามาร่วมมือสร้างผลงานหัตกรรม ผลิตภัณจากกะลามะพร้าวประชาชนเริ่มตื่นตัวและเล็งเห็นความสำคัญในงานอาชีพหัตกรรมกะลามะพร้าวเนื่องจากงานประเภทนี้ประชาชนเคยได้ทำใช้ในครัวเรือนมาก่อน พ.ศ.2528-2529 ได้รวมกลุ่มสมาชิก ฝึกทำผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว16คนปี2530 ขยายมากขึ้นเป็น 25 คนได้ร่วมกันผลิตส่งออกจำหน่าย มียอดขาดมาขึ้นกว่าปีก่อนๆ ปี 2531 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพัทลุงให้ความช่วยเหลือการจัดสรรเครื่องมือการผลิต ปี 2533 มีการจักส่งผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวไปจำหน่ายต่างประเทศ มีการจัดตั้งกลุ่มอย่างเป็นรูปธรรมมีคณะกรรมการดำเนินงานนายปลื้มเป็นประธาน และผู้ประสานงานติดต่อการค้าขาย ปัจุบันสมาชิกกลุ่มหัตกรรมเพิ่มขึ้นถึง200 กว่าคน จำนวน63 ครัวเรือน ได้ทำผลิตภัณจากกะลามะพร้าวออกจำหน่ายทั้งประเทศภายในประเทศแต่ละประเทศ
กระบวนการ
1.การคัดเลือกกะลามะพร้าว ควรเลือกกะลามะพร้าวที่ทมีรูปทรง และสีผิว คล้ายหรือใกล้เคียงกัน กับแบบมากที่สุดรูปทรงส่วนใหญ่ที่พบมีเพียง 2 แบบ คือ รูปทรงกลมกับรูปทรงรี
2.การเตรียมกะลามะพร้าว คัลเลือกมะพร้าวที่มีกะลาหนารูปทรงเหมาะสม นำผลมะพร้าวมาปลอกเปลือกขูดผิดด้านนอกให้เรียบร้อน แล้วผ่าซีกผลกะลามะพร้าวแกะเนื้อมะพร้าวออกจากกะลา ตกแต่งสีด้านในด้านนอกให้เรียบร้อยตัดเป็นชิ้นงานตามรูปแบบที่ต้องการ
3.การทำด้านผลิตภัณฑ์ ไม้ที่นำมาทำด้านติดกับตัวกะลา ควรเป็นไม้เนื้อแข่งปานกลาง และมีสีสันคล้ายกับตัวกะลา เช่น ไม้จากต้นมะพร้าว ประดู่ ไม้ขี้เหล็ก
4.การประกอบชิ้นส่วน และการตกแต่งมีส่วนที่เป็นกลางกับส่วนที่เป็นด้าม

  • ผลิตภัณฑ์กระจูด

ประวัติความเป็นมา
ในหมู่บ้านมีทุ่งกระจูด( ชื่อท้องถิ่น ) ขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้นำมาสานเป็นเสื่อไว้ใช้เองและจำหน่ายแต่ทำในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่อมากลุ่มพัฒนาชุมชนได้รวมกลุ่มสมาชิกขึ้นและประสานงานกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาทำการสอนแปรรูป ตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น หมวก กระเป๋า แบบต่างๆ ของใช้เบ็ดเตล็ด ที่รองแก้ว ที่รองจาน ตู้เสื้อผ้า แฟ้ม ฯลฯ
กระบวนการผลิต
นำกระจูดตากแห้ง ย้อมสี เข้าเครื่องรีด จักรสานตามลายที่ต้องการแล้วนำมาตัดเย็บ ใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยี

  • ผลิตภัณฑ์จักสานใบเตย


ประวัติความเป็นมา

ต้นเตย เป็นต้นไม้ที่คนในชุมชนนิยมปลูกกันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจเริ่มมีมากขึ้น มีปัญหาการว่างงานและบางส่วนว่างจากการประกอบอาชีพหลักจึงเกิดแนวคิดที่จะหารายได้เสริม โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น และเป็นงานฝีมือที่ใช้เส้นใยจากธรรมชาติ คือ ใบเตยหนาม หรือปาหนัน

กระบวนการผลิต
การจักสานมใช้ใบเตยหนาม หรือปาหนัน จะนำมาจักสานเป็นของใช้ ของที่ระลึก รูปแบบต่างๆ โดยการนำใบเตยมาตากแดด แล้วนำเข้าเครื่องจักตอกให้ได้ขนาดเส้นตามที่ต้องการ ถ้าต้องการย้อมสีก็สามารถทำได้ จากนั้นนำมาจักสานขึ้นรูปตามแบบที่ต้องการอย่างประณีต และสวยงาม เสร็จแล้วทาแลคเกอร์ชิ้นงานให้ขึ้นเงาและเป็นการป้องกันรา  อ่านต่อ





แหล่งที่มา
http://sineenach.blogspot.com/

เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้


เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้



  •      ปี่ 





    ปี่ เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียวของวง นิยมใช้ปี่ใน หรือ บางคณะอาจใช้ปี่นอก ใช้เพียง ๑ เลา ปี่มีวิธีเป่าที่คล้ายคลึงกับขลุ่ย ปี่มี ๗ รูแต่สามารถกำเนิดเสียงได้ ถึง ๒๑ เสียงซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงพูด มากที่สุด



  • แตระ




แตระ หรือ แกระ คือ กรับ มี ทั้งกรับอันเดียวที่ใช้ตีกระทบกับรางโหม่ง หรือกรับคู่ และมีที่ร้อยเป็นพวงอย่างกรับพวง หรือใช้เรียวไม้หรือลวด เหล็กหลาย ๆ อันมัดเข้าด้วยกันตีให้ปลายกระทบกัน


  • ทับ




ทับ (โทนหรือทับโนรา) เป็นคู่ เสียงต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ ไม่ใช่ผู้รำ เปลี่ยน จังหวะลีลาตามดนตรี ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มอง เห็นผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิง ของผู้รำ)



  • กลองทัด



  

กลอง เป็นกลองทัดขนาดเล็ก (โตกว่ากลองของหนังตะลุงเล็กน้อย) ๑ ใบทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและล้อเสียงทับ


  • โหม่ง






โหม่ง คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลม เรียกว่า “เสียงโหม้ง” ที่เสียงทุ้ม เรียกว่า “เสียงหมุ่ง” หรือ บางครั้งอาจจะเรียกว่าลูกเอกและลูก ทุ้มซึ่งมีเสียงแตกต่างกันเป็น คู่แปดแต่ดั้งเดิมแล้วจะใช้คู่ห้า



  • ฉิ่ง




ฉิ่ง หล่อด้วยโลหะหนารูปฝาชีมีรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก สำรับนึงมี ๒ อัน เรียกว่า ๑ คู่เป็นเครื่องตีเสริมแต่งและเน้นจังหวะ ซึ่งการตีจะแตกต่างกับการตีฉิ่ง ในการกำกับจังหวะของดนตรีไทย อ่านต่อ














แหล่งที่มา
https://sites.google.com/site/musicalthaiinstrument/kheruxng-dntri-phakh-ti











อาหารปักษ์ใต้


อาหารปักษ์ใต้


10 เมนู “อาหารใต้” รสเด็ด เผ็ดจนต้องร้อง….. หรอยจังฮู้!!!

หากพูดถึงอาหารใต้ เชื่อว่าหลายคนคงจะนึกถึงความแซ่บ เผ็ด ร้อน ที่เป็นเอกลักษณ์ของ “อาหารใต้” แน่นอน อีกทั้งเครื่องแกง ส่วนผสม วัตถุดิบในการปรุงอาหารนั้นก็เรียกได้ว่าครบเครื่องเช่นกัน วันนี้ทาง Food MThai เลยรวบรวมเมนูเด็ด อาหารใต้มาเรียกน้ำย่อย ให้น้ำลายสอกันดีกว่า และถ้าใครอยากทานมีลายแทงร้านแนะนำให้อีกด้วยจ้า


  • สะตอผัดกะปิกุ้งสด






หากพูดถึงอาหารใต้รสจัดจ้าน คงไม่มีใครไม่ลืมที่จะนึกถึง “สะตอผัดกับกะปิใส่กุ้ง” เมนูอาหารใต้รสชาติร้อนแรง รับประทานได้ง่าย รสชาติมีทั้งความเค็ม เปรี้ยว มันหวานเล็กน้อย มีความหอมผสมผสานจากกะปิ พริกแห้งและสะตอ เป็นเมนูที่ได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่สูง ด้วยสะตอเป็นผักพื้นบ้านนิยมใส่หมูหรือกุ้งเพิ่มเติมลงไปเพื่อให้ได้รับโปรตีนมากขึ้น รับรองว่าแค่มีข้าวสวยร้อนๆสักจาน ทานกับเมนูผัดสะตอยังไงก็เอาอยู่ หรอยจังฮู้วแน่นอน

  • แกงเหลือง




“แกงเหลือง” หรือแกงส้มปักษ์ใต้ มีความแตกต่างจากแกงส้มในภาคอื่นๆ เนื่องจากใช้พริกแกงส้มที่มีส่วนผสมของ “ขมิ้น” เข้ามาทำให้สีแกงมีสีเหลือง มักใช้แกงกับหน่อไม้ดอง, มะละกอ,ไหลบัว, บอน หรือผักอื่นๆตามใจชอบ เพิ่มโปรตีนด้วยกุ้ง หรือปลาสดนิยมเป็น ปลากระพง, ปลานิล, ปลากระบอก, ปลาดุก ฯลฯ รสชาติจะจัดจ้านโดยเฉพาะแกงเหลืองหน่อไม้ดอง จะนิยมกันเป็นพิเศษ ด้วยน้ำแกงเข้มข้นเข้ากันได้อย่างดีกับรสเปรี้ยวของหน่อไม้ดอง


  • ผักเหลียงผัดไข่





“ผักเหลียง” เป็นผักพื้นบ้านของทางภาคใต้มีรสชาติที่แปลกกว่าผักชนิดอื่น และกำลังได้รับความนิยม เนื่องจากให้รสชาติมัน จึงนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด ผัด ต้ม หรือรับประทานสด โดยเฉพาะเมนูผักเหลียงผัดไข่ สามารถทานได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กๆที่ไม่ชอบทานผักจะสามารถรับประทานเมนูนี้ได้ เนื่องจากมีความมันและไม่มีรสชาติขม เข้ากันได้อย่างดีกับไข่ ทานคู่เป็นกับข้าวกับแกงใต้สักเมนูก็อร่อยดีไม่แพ้กัน


  • ขนมจีนน้ำยาใต้ จากร้านภูเก็ต ทาวน์ ทองหล่อ





“ขนมจีนน้ำยาใต้” จะเป็นน้ำยากะทิแบบคนใต้ กล่าวคือ ใช้ครื่องแกงกะทิปักษ์ใต้ (สีเหลืองผสมขมิ้น) รสชาติจะเข้มข้น หอมพริกแกง ใบมะกรูด ที่สำคัญคือเนื้อปลาต้ม เมื่อนำมาตำรวมกับเครื่องแกงจะมีความหอมเวลารับประทาน และความฟูของเนื้อปลาจะทำให้รสชาติมีความกลมกล่อมเข้ากับกะทิ เค็มมัน บางสูตรอาจดัดแปลงใส่เป็นเนื้อปูก็อร่อยไปอีกแบบทานแนมคู่กับผักพื้นบ้านภาคใต้ เช่น ผักกาดดอง, ลูกเหรียง, ไชโป้ว, ผักสดต่างๆ


  • แกงไตปลา




“แกงไตปลา” เป็นแกงที่ใช้กะเพาะของปลา เช่น ปลาทู, ปลาคังและปลาทะเลอื่นๆ นำมาแปรรูปถนอมอาหารหมักกับเกลือ นำมาทำน้ำพริกรวมถึงแกงไตปลายอดฮิต บางสูตรก็ใส่กะทิหรือบางสูตรก็จะไม่มีการใส่กะทิ มีรสชาติกลมกล่อม เค็มไตปลาหมัก เผ็ดร้อนถึงเครื่องแกงแต่ไม่ร้อนแรงเท่าแกงเหลือ ทานกับข้าวหรือขนมจีนแนมผักสดท้องถิ่นของภาคใต้

  • ข้าวยำ




“ข้าวยำปักษ์ใต้” เป็นเมนูอาหารใต้ที่เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพอีกเมนูหนึ่งก็ว่าได้ เนื่องจากมีวัตถุดิบที่ใช้ผักค่อนข้างเยอะและรสชาติยังอร่อยอีกด้วยคะ โดยหลักแล้วจะประกอบไปด้วย ใบมะกรูดซอย, ถั่วพลูซอย, ตะไคร้ ส้มโอและผักต่างๆ รวมถึงกุ้งแห้งป่น เวลาทานคลุกเคล้าให้เข้ากันกับน้ำยำกะปิหวาน รวมทั้งมะนาวและมะพร้าวขูดคั่ว พริกป่น ถือว่าเป็นจานเด็ดจานเดี่ยวเพื่อสุขภาพและให้สารอาหารครบถ้วนจริงๆคะ



  • แกงคั่วหอยแครงใส่ใบชะพลู





“แกงคั่วหอยแครงใส่ใบชะพลู” เป็นแกงที่นำกะทิมาคั่วกับพริกแกง รสชาติจะเค็มมันและหวานหอม รสชาติกลมกล่อมถึงเครื่องถึงรสของเครื่องแกง ซึ่งในใบชะพลูนอกจากจะมีความหอมแล้วยังมีประโยชน์ต่อร่างกายมากอีกด้วย อ่านต่อ





แหล่งที่มา

https://food.mthai.com/food-recommend/110078.html

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้




การแสดงพื้นเมืองภาคใต้

  • มโนราห์




มโนราห์จิตวินญาณของชาวใต้
เอกลักษณ์ของชาวใต้ที่น่าภาคภูมิใจอย่างหนึ่งนั้นคือ มโนราห์ หรือโนราห์ ซึ่งเป็นศิลปะการร้องและการรำชั้นสูง ทั้งนี้มีคนกล่าวกันว่าต้นกำเนิดนั้น คือที่อินเดียกว่า สี่ร้อยที่ผ่านมา โดยวัตถุประสงค์ก็เพื่อบูชามหาเทพทั้งสามนั้นก็คือ พระอิศวร พระพรหม และพระนารายณ์ ซึ่งในบทร้องของมโนราห์ปัจจุบันก็ยังคงมีเนื้อหาดังกล่าวเจือปนอยู่ แม้จะมีการดัดแปลงแก้ไขใส่เนื้อหาทางด้านพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิมคือการนับถือบรรพบุรุษ เติมไปบ้างตามอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อท้องถิ่น ความเป็นศิลปะชั้นสูงของมโนราห์นั้นสามารถดูได้จาก งานครอบครูโขนละครและดนดรีไทย ที่เป็นมรดกของชาติและเป็นที่ยอมรับว่างดงามและสูงส่ง บนปรัมพิธีจะมีเศียรเก้าเศียรซึ่งเศียรที่เก้านั้นก็คือ เทริด มโนราห์(คล้ายมงกุฎ) อีกทั้งมโนราห์ยังเป็นศาสตร์ที่รวบรวมเอาศิลป์แขนงอื่นมาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่น งานช่างไม้ ช่างก่อสร้าง ช่างปักเย็บ เป็นต้น





บรมครูของมโนราห์สามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนหลักๆคือ

ราชครูมโนราห์ โดยเชื่อกันว่าครูเหล่านี้คือกลุ่มคนที่เคยมีชีวิตในสมัยโบราณ ทั้งนี้จะเป็นเจ้าเมือง(เมืองพัทลุง)และบรมวงศานุวงศ์ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเครื่องแต่งกายของมโนราห์จึง มีลักษณะคล้ายเครื่องทรงกษัตริย์ ซึ่งบรมครูเหล่านี้ได้แก่ ขุนศรัทธา เจ้าพระยาสายฟ้าฟาด แม่ศรีมาลา แม่นางคงคา แม่นางนวลทองสำลี ตาม่วงแก้ว ตาม่วงทอง ขุนแก้วขุนไกร พ่อเทพสิงขร เป็นต้น เหล่าตาพรานป่าและเหล่าเสนา เหล่านี้คือข้ารับใช้ในวัง และยังเป็นตัวตลกอีกด้วยเช่น พรานบุญ พรานเทพ พรานหน้าทอง พรานเฒ่า เป็นต้น ตายายมโนราห์ เหล่านี้ก็คือบุคคลที่เคยมีชีวิตอยู่จริงในหน้าประวัติศาสตร์แต่เมื่อสิ้นชีพไปแล้วด้วยแรงครูจึงยังคอยวนเวียนปกปักษ์รักษา ลูกหลานเชื้อสายมโนราห์ ตลอดมา

ความเป็นเอกลักษณ์และคุณค่าทางวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวผลักดันให้เกิดความสามัคคีเป็นอย่างดีในชนชาวใต้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมชาวใต้จึงหวงถิ่นรักพี่เอื้ออาทรพี่น้อง แต่ปัจจุบันนี้ประเทศเราเปิดรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาโดยไม่กลั่นกรอง ทำให้เยาวชนของชาติละทิ้งวัฒนธรรมเดิม หันหน้าไปให้ต่างชาติ ยอมเป็นทิศทางวัฒนธรรมอื่นที่ตนเห็นว่างามแล้วถ้าวันหนึ่งที่ไทยสิ้นชาติขาดวัฒนธรรมแล้วมีคนมาถามว่า ชาติเดิมของยูนั้นมีดีอะไรบ้าง แล้วลูกหลานไทยก็เต้น โนบอดี้ให้เขาดี วันนั้นก็คงเป็นวันที่วิญญาณบรรพบุรุษไทยร้องไห้น้ำตาเป็นสายเลือด



เครื่องแต่งกาย

1. เทริด (อ่านว่า เซิด) เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง (โบราณไม่นิยมให้นางรำใช้) ทำเป็นรูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า มีด้ายมงคลประกอบ



หัวเทริดโนราห์

2. เครื่องรูปปัด เครื่องรูปปัดจะร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนเสื้อ ประกอบด้วยชิ้นสำคัญ 5 ชิ้น คือ บ่า สำหรับสวมทับบนบ่าซ้าย-ขวา รวม 2 ชิ้น ปิ้งคอ สำหรับสวมห้อยคอหน้า-หลังคล้ายกรองคอหน้า-หลัง รวม 2 ชิ้น พานอก ร้อยลูกปัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้พันรอบตัวตรงระดับอก บางถิ่นเรียกว่า"พานโครง"บางถิ่นเรียกว่า"รอบอก" เครื่องลูกปัดดังกล่าวนี้ใช้เหมือนกันทั้งตัวยืนเครื่องและตัวนาง (รำ) แต่มีช่วงหนึ่งที่คณะชาตรีในมณฑลนครศรีธรรมราชใช้อินทรธนู ซับทรวง (ทับทรวง) ปีกเหน่ง แทนเครื่องลูกปัดสำหรับตัวยืนเครื่อง





ปิ้งคอ





บ่า



พานอก พานโครง หรือรอบอก

3.ปีกนกแอ่น หรือ ปีกเหน่ง มักทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายนกนางแอ่นกำลังกางปีก ใช้สำหรับโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง สวมติดกับสังวาลอยู่ที่ระดับเหนือสะเอวด้านซ้ายและขวา คล้ายตาบทิศของละคร






ปีกนกแอ่น หรือปีกเหน่ง

4. ซับทรวง หรือ ทับทรวง หรือ ตาบ สำหรับสวมห้อยไว้ตรงทรวงอก นิยมทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายขนมเปียกปูนสลักเป็นลวดลาย และอาจฝังเพชรพลอยเป็นดอกดวงหรืออาจร้อยด้วยลูกปัด นิยมใช้เฉพาะตัวโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง ตัวนางไม่ใช้ซับทรวง

5. ปีก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หาง หรือ หางหงส์ นิยมทำด้วยเขาควายหรือโลหะเป็นรูปคล้ายปีกนก 1 คู่ ซ้าย-ขวาประกอบกัน ปลายปีกเชิดงอนขึ้นและผูกรวมกันไว้มีพู่ทำด้วยด้ายสีติดไว้เหนือปลายปีก ใช้ลูกปัดร้อยห้อยเป็นดอกดวงรายตลอดทั้งข้างซ้ายและขวาให้ดูคล้ายขนของนก ใช้สำหรับสวมคาดทับผ้านุ่งตรงระดับสะเอว ปล่อยปลายปีกยื่นไปด้านหลังคล้ายหางกินรี





ปีก หรือหางหงส์

6. ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า นุ่งทับชายแล้วรั้งไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยปลายชายให้ห้อยลงเช่นเดียวกับหางกระเบน เรียกปลายชายที่พับแล้วห้อยลงนี้ว่า "หางหงส์"(แต่ชาวบ้านส่วนมากเรียกว่า หางหงส์) การนุ่งผ้าของโนราจะรั้งสูงและรัดรูปแน่นกว่านุ่งโจมกระเบน

7. หน้าเพลา เหน็บเพลา หนับเพลา ก็ว่า คือสนับเพลาสำหรับสวมแล้วนุ่งผ้าทับ ปลายขาใช้ลูกปัดร้อยทับหรือร้อยทาบ ทำเป็นลวดลายดอกดวง เช่น ลายกรวยเชิง รักร้อย

8. ผ้าห้อย คือ ผ้าสีต่างๆ ที่คาดห้อยคล้ายชายแครงแต่อาจมีมากกว่า โดยปกติจะใช้ผ้าที่โปร่งผ้าบางสีสด แต่ละผืนจะเหน็บห้อยลงทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของหน้าผ้า

9. หน้าผ้า ลักษณะเดียวกับชายไหว ถ้าเป็นของโนราใหญ่หรือนายโรงมักทำด้วยผ้าแล้วร้อยลูกปัดทาบเป็นลวดลาย ที่ทำเป็นผ้า 3 แถบคล้ายชายไหวล้อมด้วยชายแครงก็มี ถ้าเป็นของนางรำ อาจใช้ผ้าพื้นสีต่างๆ สำหรับคาดห้อยเช่นเดียวกับชายไหว




หน้าผ้า

10. กำไลต้นแขนและปลายแขน กำไลสวมต้นแขน เพื่อขบรัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัดทะแมงและเพิ่มให้สง่งามยิ่งขึ้น

11. กำไล กำไลของโนรามักทำด้วยทองเหลือง ทำเป็นวงแหวน ใช้สวมมือและเท้าข้างละหลายๆ วง เช่น แขนแต่ละข้างอาจสวม 5-10วงซ้อนกัน เพื่อเวลาปรับเปลี่ยนท่าจะได้มีเสียงดังเป็นจังหวะเร้าใจยิ่งขึ้น





กำไล

12. เล็บ เป็นเครื่องสวมนิ้วมือให้โค้งงามคล้ายเล็บกินนร กินรี ทำด้วยทองเหลืองหรือเงิน อาจต่อปลายด้วยหวายที่มีลูกปัดร้อยสอดสีไว้พองาม นิยมสวมมือละ 4 นิ้ว (ยกเว้นหัวแม่มือ)




เล็บ

13. หน้าพราน เป็นหน้ากากสำหรับตัว "พราน" ซึ่งเป็นตัวตลก ใช้ไม้แกะเป็นรูปใบหน้า ไม่มีส่วนที่เป็นคาง ทำจมูกยื่นยาว ปลายจมูกงุ้มเล็กน้อย เจาะรูตรงส่วนที่เป็นตาดำ ให้ผู้สวมมองเห็นได้ถนัด ทาสีแดงทั้งหมด เว้นแต่ส่วนที่เป็นฟันทำด้วยโลหะสีขาว หรือทาสีขาว หรืออาจลี่ยมฟัน (มีเฉพาะฟันบน) ส่วนบนต่อจากหน้าผากใช้ขนเป็ดหรือห่านสีขาวติดทาบไว้ต่างผมหงอก

14. หน้าทาสี เป็นหน้ากากของตัวตลกหญิง ทำเป็นหน้าผู้หญิง มักทาสีขาวหรือสีเนื้อ อ่านต่อ



แหล่งที่มา
https://sites.google.com/site/aungang16/




ทะเลปักษ์ใต้

ทะเลบ้านเรา


  • เที่ยวเกาะหลีเป๊ะ แวะหมู่เกาะตะรุเตา-อาดัง-ราวี

สตูล… แม้เป็นเพียงจังหวัดชายแดนเล็กๆ บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่ก็มีเกาะแก่งที่งดงามเป็นที่กล่าวขาน ทั้งยังอุดมด้วยธรรมชาติป่าเขาที่สมบูรณ์ สำหรับ “เกาะหลีเป๊ะ” เป็นเกาะเล็กๆ ของจังหวัดสตูล มีลักษณะแบนๆ คล้ายบูมเมอแรง ชื่อ “เกาะหลีเป๊ะ”หมายถึง เกาะที่ราบเรียบคล้ายกระดาษ ซี่งมีที่มาจากภาษาท้องถิ่นชาวน้ำหรือชาวเล





จุดเด่นของเกาะหลีเป๊ะ คือ ความเป็นธรรมชาติของปะการังรอบเกาะ มีเวิ้งอ่าวที่สวยงาม หาดทรายละเอียดนิ่มเหมือนแป้ง มีชายหาดหลักๆ อยู่ 3 หาด คือ หาดซันเซ็ท หาดซันไรส์ และหาดพัทยา (บันดาหยา)

สำหรับหาดซันเซ็ทนั้น เป็นชายหาดที่เหมาะกับคนที่ต้องการมาพักผ่อนอย่างแท้จริง เพราะเป็นหาดที่ค่อนข้างเงียบสงบ บรรยากาศดี ขณะที่หาดซันไรส์ก็น่าเที่ยวไม่แพ้กัน เพราะที่นี่เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยสุดในเกาะหลีเป๊ะ แถมยังมีที่พักมากมายไว้รองรับนักท่องเที่ยวได้อีกเพียบ และหาดพัทยา (บันดาหยา) หาดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีความหลากหลายทั้งที่พัก อาหาร และเครื่องดื่ม จนได้รับการขนานนามว่า “พัทยา 2” เนื่องจากคึกคักเหมือนเมืองพัทยาจริงๆ

  • หาดตะโละกาโปร์ ปัตตานี





หาดตะโละกาโปร์ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีตามทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอยะหริ่ง ข้ามคลองยามูตามสะพานคอนกรีตขนาดใหญ่ ผ่านพื้นที่สวนป่าชายเลนและหมู่บ้านไปจนถึงทางแยกเข้าสู่หาด รวมระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร หาดตะโละกาโปร์เป็นหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี เคยประกวดแหล่งท่องเที่ยว 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ได้ที่ 2 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ประจำปี 2529 หาดตะโละกาโปร์เป็นหาดทรายขาวสะอาดขนานกับชายฝั่งทะเล มีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก หาดทรายแห่งนี้งอกยาวออกไปเรื่อยๆ เพราะเกิดจากกระแสน้ำพัดเอาตะกอนทรายมาทับถมพอกพูน เหมาะแก่การไปนั่งพักผ่อนชมความสวยงาม มีทิวสนและต้นมะพร้าวให้ความร่มรื่นสวยงาม

  • เกาะปันหยี ณ อ่าวพังงา



เกาะปันหยี ตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา หมู่ 1 บ้านท่าด่าน ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่ยังคงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมเอาไว้อย่างเหนียวแน่น มีชุมชนชาวประมงโบราณกว่า 200 ปี ที่อาศัยพื้นที่ราบหลังเกาะปันหยีเป็นที่หลบฝน และตั้งหมู่บ้านน้อย ๆ ขึ้นมา โดยแต่ละบ้านจะยกพื้นสูงเหนือน้ำ ชาวบ้านทั้งหมดเป็นชาวมุสลิม และอุทิศที่ราบเล็ก ๆ ของเกาะปันหยีให้เป็นมัสยิด ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คน หากนักเดินทางมาสัมผัสบนเกาะปันหยีแห่งนี้ จะได้ชมวิถีชีวิตพื้นบ้านแบบชาวเลแท้ ๆ ที่มีศาสนาอิสลามหลอมรวมจิตใจผู้คน

  • เกาะคอเขา


เกาะคอเขา ตั้งอยู่ในอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นเกาะขนาดเล็กยาวประมาณ 15 กิโลเมตร กว้างประมาณ 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำตะกั่วป่า มีลักษณะคล้ายสันทราย มีป่าไม้โกงกางทางด้านฝั่งตะวันออกของเกาะ ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตกของเกาะหันหน้าออกสู่ทะเลอันดามัน ทางด้านเหนือของเกาะมีภูเขาเตี้ย ๆ ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ นับเป็นเกาะที่ยังคงเงียบสงบ และยังมีความเป็นธรรมชาติอยู่สูง เหมาะแก่การไปพักผ่อนชิล ๆ นอกจากนี้ ยังมีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญบนเกาะ โดยตั้งอยู่ในบริเวณที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ทุ่งตึก" หรือ "เหมืองทอง" เหตุที่เรียกเช่นนี้คงจะเป็นเพราะว่าในบริเวณนี้มีซากอาคารโบราณสถานอยู่ 3 แห่ง และในบริเวณนี้ยังได้พบฐานเทวรูปเหรียญเงินอินเดีย เศษทองคำ และผงทรายทอง ปัจจุบันโบราณสถานดังกล่าวถูกทำลายไป คงเหลือแต่เพียงซากของฐานก่ออิฐเพียงบางส่วนเท่านั้น

  • เกาะไหง



เกาะไหง ที่อยู่ในเขตอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แต่จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มของทะเลตรัง เนื่องจากการเดินทางจากจังหวัดตรังสะดวกมากกว่า หาดทรายบนเกาะขาว น้ำทะเลใส มองเห็นปลาหลายพันธุ์หลากสี รอบเกาะปะการังยังสมบูรณ์ อีกทั้งบนเกาะมีที่พักเอกชนบริการหลายแห่ง ส่วนการเดินทางสามารถเช่าเรือจากท่าเรือปากเมง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง

  • เกาะจำ เกาะปู



เกาะปู เกาะจำ อยู่ในเขตตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ อยู่ใกล้กับเกาะศรีบอยา ใช้เวลาในการเดินทางจากเกาะศรีบอยาทางเรือโดยสารประมาณ 1 ชั่วโมง ประกอบไปด้วย 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านเกาะปู หมู่บ้านเกาะจำ และหมู่บ้านติงไหร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและประมง ด้วยลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่น เพราะมีหาดทรายที่ค่อนข้างยาวผิดกับบริเวณชายหาดของเกาะอื่น ๆ อีกทั้งวิถีชีวิตของชุมชนที่ยังคงแบบดั้งเดิมไว้ไม่เสื่อมคลาย ก็เป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ที่น่าสนใจ อ่านต่อ

  • 10 อันดับเกาะที่สวยที่สุดในประเทศไทย 2015





ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://travel.kapook.com/view67557.html

จากสถาปนิกเลือดใต้ สู่ศิลปินระดับโลก!

หรอยแรง! พี่บ่าว “บัญชา มะ” : จากสถาปนิกเลือดใต้ สู่ศิลปินระดับโลก! “บัญชา มะ” ศิลปินถิ่นใต้ผู้มากความสามารถ กวาดมาแล้วหลายรางวัล ทั้งร...